
เวียงแหง เมืองลับแลแห่งเชียงใหม่
การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทใหญ่

ผู้ชาย
กางเกง เป็นกางเกงขาก๊วย เป้าและขาเหมือนกางเกงของชาวจีน เอวกว้างใช้พับทบเข้ามาให้พอดีกับเอว เรียกว่า “ก๋นไต” คาดด้วยเข็มขัด เสื้อ ตัวในใช้เสื้อเชิ้ต มีเสื้อกล้ามรองชั้นในอีกชั้นหนึ่ง เสื้อตัวนอกเป็นเสื้อคอกลมแขนยาว ไหล่เลยลงมาต่อตะเข็บตรงกึ่งกลางแขนผ่าหน้าติดด้วยกระดุมขอดห้าคู่ ด้านหนึ่งใช้ผ้าขอดเป็นหัวกระดุมลักษณะ หัวแมลงวัน อีกด้านหนึ่งทำเป็นห่วงเย็บติดขนานกันเหลือห่วงตรงหัวผ้าเป็นหูกระดุมแล้วนำหัวกระดุมมาสอดเข้ากับหูกระดุม จะมีชายผ้าเป็นทางเย็บทอดต่อจากหัวและหูกระดุมทั้งสองข้างยาวด้านละประมาณ ๒ นิ้ว ตัวยาวเท่าสะโพก เรียกว่า “เส้อแต้กปุ่ง” มักใช้ในโอกาสที่เป็นงานในพิธี

ผู้หญิง
สมัยก่อนนิยมตัดเสื้อผ้าตัวใหญ่ ๆ สวมเสื้อไตหน้าต่อทับด้านนอก ผู้ใหญ่ใช้ “เสื้อไตหน้าแว๊ด”แบบเสื้อชาวจีน คอกลมแต่ชายเสื้อสั้นแค่เอวมีกระดุมขอดสอดกับหูกระดุมอีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกับเสื้อชาย หรือใช้กระดุมชุดที่ทำจากพลอยพม่า ถ้าใช้กระดุมชุดพลอยกระดุมผ้าที่เย็บติดกับตัวเสื้อจะเย็บเป็นหูทั้งสองข้าง ใช้ห่วงของกระดุมพลอยสอดคล้องกับหูของกระดุมผ้า แล้วใช้เม็ดพลอยลอดห่วงผ้าอีกข้างหนึ่งเพื่อลอดรั้งไห้ติดกันไว้ทั้งสองข้าง ผ้าซิ่นจะใช้ผ้าที่มีลวดลายเป็นส่วนใหญ่ เย็บตะเข็บเดียวเป็นผ้าถุงธรรมดา สมัยก่อนจะใช้ผ้าเนื้อนิ่มสีดำต่อตรงเอวเรียกว่า“หัวซิ่น”เวลานุ่งผ้าก็จะเหน็บชายหัวซิ่นได้แน่น ใช้เข็มขัดเงินคาดทับผ้าซิ่นแต่ละแบบที่หญิงไตนิยมใช้จะเรียกต่างๆกันไป
มีความเชื่อ
ชาวไทยใหญ่มีใจห้าวหาญรักการต่อสู้ มีความองอาจกล้าหาญ แต่ขาดความอดทน ทุกคนจะพกมีดและดาบออกจากบ้านเสมอ ชายชาวไทยใหญ่ทุกคนต้องสักหมึก เชื่อว่าเป็นสิ่งที่น่าเกรงขาม ชายใดไม่มีรอยสักแล้วหาใช่ชายไม่ การแต่งกายก็เช่นกัน
ที่มา: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ที่มา: paiboolwon

