
เวียงแหง เมืองลับแลแห่งเชียงใหม่

ที่มา: มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ชาวบ้านก็จะมาพร้อมกัน ณ จุดศูนย์รวมของหมู่บ้านเพื่อที่จะช่วยการทำพิธีกรรมแซก่อ หรือทรายก่อ เตรียมขุดหลุมเล็กๆ ไว้เพื่อที่จะใส่เสาดอกไม้ลง นำดอกไม้มาประดับจุดที่ทำพิธีกรรมแซก่อ นำดอกไม้มาเพื่อที่จะประกอบพิธีกรรมให้สมบูรณ์แบบ นำสิ่งของเพาะปลูกมาไว้จุดที่ทำพิธีกรรม เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด พริก ชาวบ้านจุดเทียนเพื่อ จะประกอบพิธีขอขมาสัตว์ที่ตายไปในการทำไร่ ทำสวน ชาวบ้านทำเครื่องมืออุปกรณ์ ในการประกอบพิธีกรรม สร้างเสร็จแล้วเริ่มทำพิธีกรรมขอขมา สิ่งต่างๆ ในการทำไร่ เช่น สัตว์
ทำพิธีกรรมจะต้องมีพ่อหมอ หรือผู้เฒ่า ผู้แก่ในหมู่บ้านที่สามารถอ่านบทสวด เพื่ออุทิศส่วนกุศล ขอขมาต่อสัตว์ต่างๆ ที่โดนฆ่าตายในการทำไร่ ทำสวนแล้ว สวดว่าขอให้ได้ผลผลิตสูง เจริญงอกงาม ออกเมล็ดเหมือนเมล็ดทราย และสวดว่าขอให้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนอยู่เย็น เป็นสุข หลังจากเสร็จพิธีกรรม ชาวบ้านเก็บเมล็ดพืชที่ทำพิธีกรรม จะนำมาไว้จุดที่ศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน
ประเพณีแซก่อ (ก่อทราย)
ซึ่งแซก่อ ตรงกับวันที่ 14 เมษายนของทุกปี และเป็นวันสงกรานต์ไทย
ประเพณีแซก่อนี้มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษปฏิบัติมา และสืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ชนเผ่าละหู่ที่นับถือพุทธ (ผี) ชนเผ่าลาหู่จะมีประเพณีแซก่อ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้กับสิ่งที่ล่วงลับที่ทำไปแล้วในการประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวนโดยที่ฆ่าสัตว์โดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ เชื่อว่าทำพิธีกรรมแซก่อแล้ว จะทำให้ไม่มีบาป แล้วอาชีพการทำไร่ ทำสวน ผลผลิตจะได้ดี และชีวิตการเป็นอยู่เย็นเป็นสุข การเตรียมสิ่งของที่จะไปประกอบพิธีกรรมแซก่อ แต่ละบ้านจะต้องจัดหาดอกไม้สวยๆ นำมาใส่กระบอกไม้ไผ่เพื่อที่จะนำมาทำพิธีกรรม เช่น เตรียมเมล็ดพืชข้าว ข้าวโพด พริก เตรียมทราย เตรียมเทียนไขนี้ไปเก็บไว้ ณ จุดที่เคารพ



ที่มา: มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ที่มา: มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ที่มา:หนังสือสสารคดีชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง มูเซอ