top of page

ประเพณีปล่อยโคม

ลักษณะความเชื่อ
       ชาวบ้านทั่วไปเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมสิ่งที่ไม่ดีงามให้ลอยออกไปจากชีวิต และปล่อยให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์

ความสำคัญ

        เมื่อถึงเทศกาล "ยี่เป็ง" ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาจะทำโคมลอยไปถวายวัดเพื่อเป็นพุทธบูชาหรือบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ วันอื่น เดือนอื่นไม่นิยมทำกัน

พิธีกรรม

 

1. การทำโคมลอย
โคมลอยทำด้วยกระดาษว่าว มีลักษณะสี่เหลี่ยมเรียกว่า "แบบกล่องข้าว" ลักษณะกลมเรียกว่า"ฮ้งมดส้ม" (รังมดแดง) ขนาดเล็กใช้กระดาษ 36 แผ่น ขนาดกลาง 72 แผ่น ขนาดใหญ่เกินกว่า 72 แผ่นขึ้นไปและประกอบด้วยหางไม่น้อยกว่า 6 ชิ้น ยาวขนาด 5-10 เมตร
2. การปล่อยโคมลอย
ก่อนจะปล่อยโคมลอย รมด้วยควันไฟให้พองก่อนแล้วจึงปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อขึ้นจากพื้นสูงพอสมควรแล้วจึงปล่อยหางซึ่งขมวดอยู่ให้คลี่ยาวออกมา พร้อมกับกระดาษรุ้งสีต่างๆ และกระดาษเงิน ทองลอยออกมาจากโคม ของใครขึ้นได้สูงและสวย และมีลูกเล่นแพรวพราวจะได้รับความนิยมชมชอบ ถ้าเป็นการประกวดถือว่าชนะที่หนึ่ง

 

ที่มา:หนังสือศิลปวัฒนธรรมล้านนา

วิทยาลัยศิลปะ สือ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ By wix.com

ติดต่อเรา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Success! Message received.

bottom of page