
เวียงแหง เมืองลับแลแห่งเชียงใหม่
ประเพณีกินข้าวใหม่

ประเพณีกินข้าวใหม่หรือประเพณี จ่าลือจาเลอ ประเพณีนี้เริ่มต้นเมื่อข้าวแตกรวง ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปีโดยใช้เวลาประกอบพิธี 4 วัน การประกอบพิธีจะต้องทำขึ้นในวัน 12 ค่ำ – 15 ค่ำ โดยกำหนดเอาคืนที่พระจันทร์ส่องสว่างเต็มดวงเป็นวันประกอบพิธีซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง การประกอบพิธีจะมีการฆ่าหมู บูชาเทพกื่อซาและมีการเต้นรำ
ความเชื่อ
เป็นเรื่องที่เชื่อกันว่าผลผลิตในไร่ เช่น ข้าวเป็นสิ่งที่เทพเจ้ากื่อซาประทานมาให้ จะได้ผลผลิตมากหรือน้อยก็อยู่ที่เทพเจ้าจะบันดาล ถ้าไม่มีประเพณีนี้ก็ไม่สามารถจะเกี่ยวข้าวมาบริโภคได้ มีความเชื่อว่า เป็นชนเผ่าที่มีการแต่งกายสีสรรสดใส ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็น จากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรง ในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่า กลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี


ที่มา:หนังสือสารคดีชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง ลีซอ.