top of page

ประเพณีปีใหม่ (โข่เซยี่ย)

          จัดขึ้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของเดือนลีซู ซึ่งลีซูเรียกเดือนนี้ว่า “โข่เซยี่ยอาบา” ก่อนวันปีใหม่ 1 วัน หรือวันสุดท้ายของเดือน “หลายี” (เดือน 12) จะมีการตำข้าวปุ๊ก หรือเรียกว่า “ป่าปาเตี๊ยะ”
 

ความเชื่อ

 

         เป็นวันที่มีความสำคัญมากสำหรับชาวลีซู เพราะเชื่อว่าเป็นวันที่เริ่มต้นสำหรับชีวิต และสิ่งใหม่ ให้สิ่งเก่าๆ ที่ไม่ดีหมดไปพร้อมกับปีเก่า จึงต้องมีการเฉลิมฉลองด้วยการทำพิธีกรรม และจัดงานรื่นเริง เช่น การทำบุญศาลเจ้า และเทพเจ้าต่างๆ ของชาวลีซู การขอศีลพรจากเทพเจ้าและผู้อาวุโส การร้องเพลง การเล่นดนตรี และการเต้นรำ เป็นต้น

กิจกรรม

 

        สำหรับกิจกรรมและพิธีกรรมต่างๆ ที่ทำในวันนี้คือ นึ่งข้าวเหนียว เพื่อตำข้าวปุ๊กในตอนเช้า เมื่อข้าวสุกแล้วก็นำข้าวเหนียวไปตำใน “ลูทูว” จนนุ่ม และโรยแป้งหรืองา เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวติดมือ และปั้นเป็นก้อนพอประมาณ ใส่ลงไปในใบตองที่เตรียมไว้ โดยทบไปตองไปมา หน้าละ 2 ก้อน จนกระทั่งใบตองหมดแผ่น จึงทำแผ่นใหม่เรื่อยๆ จนหมด ก่อนวัน “ป่าปาเตี๊ยะ” 1 วัน

         ตอนเย็นวันนั้น “มือหมือ” จะต้องเป็นคนแช่ข้าวเหนียวก่อน และจุดประทัดเป็นสัญญาณบอก จากนั้นชาวบ้านอื่นๆ จึงจะแช่ข้าวเหนียวได้ ช่วงเย็นต้องเตรียมต้นไม้ “โข่เซยี่ยและจึว” ซึ่งจะเลือกเอาจากต้นไม้ที่มีลักษณะงาม ลำต้นเรียวยาว สูงประมาณ 1.5 เมตร โดยนำต้นไม้มาปักกลางลานบริเวณบ้าน จากนั้นนำ “ป่าปา” และเนื้อหมูหั่นยาวประมาณ 6-7 นิ้ว “ซาซือ” แขวนที่เสา และจุดธูป 2 ดอก และมีการเตรียมไข่ต้ม และเส้นด้ายยาวขนาดที่จะมัดที่คอหรือข้อมือได้ เท่ากับจำนวนสมาชิกในบ้าน ผู้อาวุโสในบ้าน (จะเป็นผู้ชาย) เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ “โชวฮาคูว” โดยการเอาไข่ต้มทั้งหมด และเส้นด้ายที่จะใช้มัดวางขนถ้วยที่ใส่ข้าวสุกที่วางบนผ้าอีกชั้นหนึ่ง ไปยืนเรียกขวัญที่หน้าประตูบ้านเมื่อทำพิธีเสร็จ จึงทำการผูกด้ายสายสิญจน์ และให้ไข่ต้มแก่สมาชิกคนละใบเพื่อให้ขวัญ

ที่มา:หนังสือสารคดีชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง ลีซอ.

วิทยาลัยศิลปะ สือ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ By wix.com

ติดต่อเรา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Success! Message received.

bottom of page